วันนี้เราได้ไปน้ำตกไทรโยคที่เมืองกาญจน์ ก็เลยได้ไปนอนที่รีสอร์ทใกล้ๆมา พอตื่นขึ้นมาก็นะ เหลือเวลาอีกตั้งเยอะ เลยไปเดินเล่นตลาด เห็นมีนักท่องเที่ยวกลุ่มที่นักใกล้ๆกันบอกว่า เดี๋ยวต้องรีบออกแล้ว ไปช่องเขาขาด กันต่อ
เราฟังชื่อแล้วน่ากลัวพิกลเลย เลยแอบถามคุณป้าคนขายอาหาร คุณป้าบอกว่า เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างสะพานรถไฟสายมรณะ ป้าบอกว่า น่าไปนะ จะได้ไปรู้ประวัติศาสตร์ของคนรุ่นหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องสละชีวิตเพื่อสร้างทาง อุแหม่!น่าสนใจยิ่งนัก พวกเราก็เป็นพวกหัวอนุรักษ์กันซะด้วย อีกทั้ง “ว่าง” เลยตกลงหาที่ไปกันต่อที่ ช่องเขาขาด
ณ จุดจุดนี้ เราก็เดินทางเส้นไทรโยค ทองผาภูมิ เจอกองการเกษตรและสหกรณ์อำเภอไทรโยค ก็เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลย เราไปเจอพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำก่อน ตอนแรกก็มองหน้ากัน ไหงเป็นพิพิทธภัณฑ์หว่า ก็ไม่เป็นไร จอดรถแล้วเดินเข้าไปถามก่อน ก็ถึงบางอ้อ ช่องเขาขาดอยู่ในพิพิทธภัณฑ์แห่งความทรงจำนี้เอง ว่ากันแบบรวมๆ ที่พิพิทธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่รวมของความทรงจำ อันร้าวรานของเชลยศึก ซึ่งเป็นชาวไทย ชาวออสเตรเลีย ชาวอังกฤษ ที่โดนทหารญี่ปุ่นจับตัวมาเพื่อช่วยกันสร้างทางรถไฟจากจังหวัดกาญจนบุรีไปยังประเทศพม่า คือ บรรยากาศข้างในเรียกได้ว่า วังเวง พอตัว เสียงเพลงก็ฟังแล้วปวดร้าว เพิร์ล ฮาร์เบอร์ หนังที่เราดูกันก็มีต้นตอมาจากเรื่องจริง ของสงครามโลกครั้งที่สองด้วย
ในพิพิทธภัณฑ์ เราได้เห็นเครื่องมือที่เชลยศึกใช้สำหรับขุดเจาะเขาเพื่อสร้างทางรถไฟ คือมันน่าหดหู่มาก เครื่องมือของพวกเค้ามันคืออุปกรณ์ทำสวนเรานี่เอง แล้วเค้าสามารถขุดเจาะเขาที่เป็นหินได้ขนาดนี้ได้ยังงัย มันโหดร้ายมาก ตอนเดินๆไป อ่านไป เรารู้สึกเหมือนน้ำตาตกใน มันอยากร้องไห้มากเลย แต่ร้องไม่ออก มันอึดอัดมาก โดยเฉพาะมาเจอเจ้าจดหมายที่เชลยสามารถเขียนได้แค่ข้อความว่า ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยแล้วยิ่งเศร้าใหญ่
ทีนี้เราก็ออกมาจากพิพิทธภัณฑ์เพื่อเดินไปยังสถานที่จริง อุแม่เจ้า ระหว่างเดินแรกๆไม่เท่าไหร่ เดินไปอีกหน่อย คือ หอมแฮกเลย นี่แค่เดินชิลๆนะ แล้วเชลยที่ต้องทำงานหนักตั้งวันละ 18 ชั่วโมงหละเค้าสายตัวแทบขาดเลย ระหว่างทางก็จะมีจุดไว้อาลัยเป็นช่วงๆไป มีไม้กางเขน มีหมอนรองรถไฟ ซากอุปกรณ์เครื่องมือขุดเจาะต่างๆ ระหว่างทางช่องเขาขาดก็มีรางรถไฟอยู่ และตรงกลางช่องเขาขาดก็มีต้นไม้ที่มีโพรงอยู่ตรงกลาง เราเห็นเค้าลอดโพรงกัน ก็ยืนดูกันไปไม่ทำด้วยหรอก
มาที่นี่ประทับใจจริงๆกับประวัติศาสตร์ของชนรุ่นหลัง ที่น่าทรมาน และน่าเศร้า เราตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสจะพาที่บ้านมาที่ช่องเขาขาดนี้ให้ได้
เรียบเรียงข้อมูลโดย : paipaitour
ที่มาภาพ :
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น